เส้นทางรถไฟตู้นอนจากกรุงเทพฯ นอนสบายตียาวลุยทั่วไทย

แชร์

นอนรถไฟไปเที่ยวกัน! อ่านไม่ผิดหรอกเพราะวันนี้เราจะพาไปเที่ยวให้ทั่วไทยด้วยการ “นอน” หมายถึงนอนให้สบายๆ ตลอดคืนในการเดินทางด้วยรถไฟ พอถึงที่หมายตอนเช้าๆ สายๆ จะได้สดชื่นมีแรงเที่ยวจัดหนักยังไงล่ะ

ใครยังไม่เคยมีประสบการณ์นั่งรถไฟ ไม่สิ… นอนรถไฟไปเที่ยว เดี๋ยวจะพาไปทำความรู้จักกัน

รถไฟนอนเป็นอย่างไร?

รถไฟนอนหมายถึงตู้รถไฟซึ่งเป็นเตียงนอน ความจริงคือเป็นทั้งที่นั่งและที่นอน ตอนรถเพิ่งออกจากสถานีก็จัดเบาะเป็นลักษณะที่นั่้งธรรมดา นั่งหันหน้าหากันฝั่งละหนึ่งคน พอตกค่ำเจ้าหน้าที่จะมาปรับที่นั่งให้เป็นที่นอน ลักษณะสองชั้น มีเตียงบนกับเตียงล่าง ซึ่งค่าบริการเตียงล่างจะแพงกว่านิดหน่อย เพราะเตียงบนนั้นต้องปีนขั้นลง ไม่เหมาะกับคนสูงอายุ เด็ก

thai_sleeper_train_10

thai_sleeper_train_07

ตู้นอนมีอยู่ขบวนไหน?

ก่อนอื่นต้องทำความรู้จักกับตู้รถไฟและขบวนรถไฟกันก่อน เพราะหลายคนอาจเคยได้ยินคำว่าตู้รถไฟชั้น 2 ชั้น 3 แล้วเข้าใจผิดว่ารถไฟมันจะมีสองชั้นสามชั้นได้ยังไงนะ อันที่จริงคำว่า “ชั้น” หมายถึง Class ไม่ใช่ Floor ดังนั้นชั้น 2 ก็คือตู้ที่ดูดีและสบายกว่าชั้น 3 แค่นั้นเอง

thai_sleeper_train_14

ส่วนลักษณะ ขบวนรถเร็ว ด่วน ด่วนพิเศษ มีความหมายตรงตัวคือความเร็วในการเดินทาง รถด่วนจะจอดสถานนีน้อยกว่ารถเร็ว ทำให้ใช้เวลาเดินทางถึงปลายทางน้อยกว่า

ในขบวนทั้งรถเร็ว ด่วน ด่วนพิเศษ จะมีตู้รถไฟทั้งแบบชั้น 1 ชั้น 2 ชั้น 3 ปะปนกัน ไม่ได้หมายความว่าขบวนรถด่วนพิเศษจะเป็นตู้นอนทั้งหมด หรือขบวนรถเร็ว (ซึ่งช้าที่สุด) จะมีแต่ตู้นั่งแบบชั้น 3 ทั้งหมด

thai_sleeper_train_09

รถไฟนอนมีจุดหมายปลายทางที่ไหนบ้าง?

รถไฟขบวนซึ่งมีตู้นอนจะมีเฉพาะรถสายยาวเท่านั้น (แหงสิ! ไม่งั้นจะนอนทำไม)

สายเหนือ

กรุงเทพอภิวัฒน์ – เชียงใหม่ ผ่าน นครสวรรค์ พิษณุโลก เด่นชัย ลำปาง ขุนตาน ลำพูน)

thai_sleeper_train_01

สายอีสานเหนือ

กรุงเทพอภิวัฒน์ – หนองคาย ผ่าน ชุมทางบัวใหญ่ ขอนแก่น อุดรธานี

สายอีสานใต้

กรุงเทพอภิวัฒน์ – อุบลราชธานี ผ่าน นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ

thai_sleeper_train_15

สายใต้อ่าวไทย

กรุงเทพอภิวัฒน์ – นครศรีธรรมราช ผ่าน หัวหิน ชุมพร สุราษฎร์ธานี ชุมทางทุ่งสง

thai_sleeper_train_06

กรุงเทพอภิวัฒน์ – ชุมทางหาดใหญ่ ผ่าน หัวหิน ชุมพร สุราษฎร์ธานี ชุมทางทุ่งสง พัทลุง

thai_sleeper_train_04

กรุงเทพอภิวัฒน์ – ยะลา หรือ สุไหงโก-ลก ผ่าน หัวหิน ชุมพร สุราษฎร์ธานี ชุมทางทุ่งสง พัทลุง ชุมทางหาดใหญ่ ปัตตานี

สายใต้อันดามัน

กรุงเทพอภิวัฒน์ – ตรัง หรือ กันตัง ผ่าน หัวหิน ชุมพร สุราษฎร์ธานี ชุมทางทุ่งสง

thai_sleeper_train_03

ทุกสายที่ว่ามาจะมีตู้นอนทั้งหมด ทั้งในขบวนรถเร็ว ด่วน และด่วนพิเศษ เพราะฉะนั้นบอกเลยไม่ว่าจะลุยโซนไหนของประเทศ เรานอนไปเที่ยวด้วยรถไฟกันได้หมดนะ

รถไฟแดงคืออะไร?

หลายคนคงเคยเห็นรีวิวรถไฟแดง หรือรถไฟที่ดูกิ๊บเก๋ใหม่สุดของบ้านเราตอนนี้ คือขบวนรถไฟด่วนพิเศษ CNR ปัจจุบันเปิดวิ่ง 4 เส้นทางออกจากกรุงเทพอภิวัฒน์คือ เชียงใหม่ หนองคาย อุบลราชธานี และ ชุมทางหาดใหญ่ มีชื่อเพราะๆ เป็นนามพระราชทานจากกรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ว่า อุตราวิถี อีสานมรรคา อีสานวัตนา และ ทักษิณารัถย์ ตามลำดับ

thai_sleeper_train_12

thai_sleeper_train_08

รถไฟแดงหรือเจ้า CNR ที่ว่านี้ ดูดีมีระดับกว่าตู้แบบเก่าเยอะเชียวล่ะ จะนั่งจะนอนก็สบาย แอร์เย็นยะเยือกจนหนาวดึ๋ง ห้องน้ำดีสะอาดมาก แถมมีปลั๊กที่ชาร์จไฟทุกที่นอน และมีเฉพาะตู้นอนทั้งขบวน ที่สำคัญคือเป็นรถตรงเวลาที่สุดแล้ว เพราะขบวนไหนผิดเวลามาจ๊ะเอ๋ขบวนนี้ก็ต้องหลีกทางให้ก่อน

thai_sleeper_train_11

จองรถไฟยังไงล่ะ?

เดี๋ยวนี้การจองรถไฟง่ายมาก แค่ไปที่ https://www.dticket.railway.co.th เป็นเว็บไซต์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย สมัครสมาชิกล็อกอิน ค้นหาเที่ยวรถ เลือกขบวนรถ จ่ายเงินได้หลายช่องทางทั้งบัตรเครดิต บัตรเดบิต เคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-11 หรือชำระเงินที่สถานีรถไฟทุกสถานีที่เราสะดวก โดยหากเดินทางมากกว่า 80% ของระยะทาง จองล่วงหน้าได้ 90 วัน เดินทางมากกว่า 60% ของระยะทาง จองล่วงหน้าได้ 60 วัน และเดินทางมากกว่า 25 % ของระยะทาง จองล่วงหน้าได้ 30 วัน

หรืออีกช่องทางสำหรับคนออฟไลน์คือโทรสายด่วน 1690 ติดต่อคอลเซ็นเตอร์ รฟท. ได้เลย

thai_sleeper_train_13

thai_sleeper_train_02

สำหรับนักเดินทางบอกเลยว่าการเที่ยวด้วยรถไฟนอนนั้นคือความคลาสสิกและเป็นประสบการณ์ที่ควรสัมผัสสักครั้ง เป็นความรู้สึกที่เหมือนเราได้ออกมาใช้ชีวิตเดินทางมากกว่าเพียงแค่ได้ไปเที่ยว จะไปแอ่ววัฒนธรรมล้านนาที่เชียงใหม่ ไปสุดสายอีสานที่ลำน้ำโขง หรือมุ่งลงใต้ไปเที่ยวทะเล กินอาหารปักษ์ใต้อร่อยๆ ยืนยันว่ารถไฟไทยพร้อมพาไปทุกขบวนนะ

thai_sleeper_train_05

บทความนี้เป็นเพียงบางส่วนของเนื้อหาที่เผยแพร่ใน Trip.com หากสนใจอ่านเพิ่มเติม กรุณาคลิกเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ Trip.com

ดูเนื้อหาต้นฉบับ

ที่มา : https://www.sanook.com/travel/1449439/
ขอขอบคุณ : https://www.sanook.com/travel/1449439/

เรื่องที่เกี่ยวข้อง



บัตรกดเงินสด ซิตี้ เรดดี้เครดิต

บัตรเครดิต ซิตี้ ลาซาด้า

บัตรเครดิตซิตี้ แกร็บ

บัตรเครดิต ซิตี้ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม

บัตรเครดิต ซิตี้ รีวอร์ด